ถ้าคุณชักหมดความอดทนกับช่วงเวลาที่สุดหินในภาวะข้าวยากหมากแพงลองตัดสินใจ “cut loss” ด้วยการตัดส่วนที่ขาดทุนออกไปจากชีวิตดูบ้างสิ
เพราะตามสถิติของผู้ที่สามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์เลวร้ายมาได้ เชื่อขนมกินได้บ่อยครั้งว่า เขาคนนั้นมักได้ประโยชน์คุ้มค่าในอนาคตเป็นการทดแทนอยู่เสมอ ส่วนใครที่มีความรู้แค่งูๆ ปลาๆ กันเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้น ก็คงคุ้นเคยอย่างดีกับภาษาโปรกเกอร์หุ้นที่มักจะแนะนำให้ลูกค้าที่เป็นนักลงทุนตัดสินใจ cut loss หรือการตัดขาดทุน ในช่วงเวลาที่ราคาหุ้นตกต่ำ ด้วยวิธีขายหุ้นตัวที่ขาดทุนซึ่งเป็นตัวการสำคัญทำให้พอร์ตลงทุนติดลบอย่างเรื้อรังอย่างไม่มีสัญญาณว่าราคาจะฟื้นได้ในเวลาอันสั้น สถานการณ์เช่นนี้ นักลงทุนที่มีชั้นเชิงสักหน่อยมักตัดต้นทุนโดยเร็วที่สุดเพื่อนำ ”เงินสด” (ส่วนที่เหลือจากการขายขาดทุน) มาถือไว้ก่อนที่จะขาดทุนไปกว่านี้ แล้วนำไปลงทุนช่องทางอื่นที่ได้ผลตอบแทนดีกว่า
อย่าเพิ่งบ่ายหน้าหนี … เพราะหนทางที่กล่าวมามันก็ไม่ได้ต่างอะไรจากการดำเนินชีวิตของคนในเมืองใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผมหรือตัวคุณเอง ลองถามตัวเองดูว่า ชีวิตในแต่ละวันของเรายังมีส่วนไหนบ้างที่บั่นทอนให้ “เงินในกระเป๋า” ร่อยหรอและเหือดแห้งลงทุกวัน
นั่นล่ะตัวการสำคัญที่ทำให้เราต้องขาดทุนต่อไปและต่อไปเรื่อย ๆ ตราบใดที่คุณยังไม่ตัดมันทิ้งไป
พูดถึงเรื่องนี้ทีไร เพื่อน ๆ ผมที่ออฟฟิศก็มักมุบมิบ ๆ ในใจกันว่า “แล้วมันต่างอะไรกับมาตรการรัดเข็มขัด?” ทำความเข้าใจอย่างง่าย ๆ เลย วิธีตัดขาดทุนถือเป็นทางเลือกที่รุนแรงกว่ามาก เหมือนกับการ “หักดิบ” หรือ”เลิกทันที” ประมาณนั้นเชียว … แล้วก็ช่างเหมาะเจาะเหลือเกินกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงหน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้ การตัดขาดทุนเป็นบทพิสูจน์ที่ใช้ได้ดีกับรัฐบาล (ประเทศ) บริษัทขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และรวมทั้งคนเดินเท้าอย่างเรา ๆ นี่ด้วย ส่วนมาตรการรัดเข็มขัดดูจะเป็นวิธีขั้นแรกและละมุนละม่อมกว่ากันมากเพียงแต่ต้องทำใจด้วยว่า การตัดขาดทุนก็เหมือนว่าเราตัดทิ้งอวัยวะส่วนหนึ่งเพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ มันจึงเป็นหนทางที่ผู้กระทำต้องพบกับความเจ็บปวด ความกล้ำกลืนฝืนทน … ไม่มากก็น้อย
ยกตัวอย่างกันเลย เคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า แต่ละวันแต่ละเดือนที่ผ่านมาคุณต้องเสียเงินไปกับค่ากาแฟมื้อบ่ายไปเท่าไรแล้ว ถ้าบอกว่าคุณต้องซดกาแฟสดวันละแก้วเป็นอย่างน้อย สนนราคาแก้วละ 30-40 บาท เดือนหนึ่งก็คงต้องจ่ายค่าความสุขตรงนี้ 900-1,200 บาท หรือตกปีละ 10,800-14,400 บาท ถ้าเป็นอย่างนี้ … ชงกินเองดีกว่าหรือเปล่า …
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คนทำงานกินเงินเดือนมักไม่ค่อยประสานักกับการลงทุนในส่วนนี้ แต่กลับมองว่าการได้นั่งจิบกาแฟใต้อาคารออฟฟิศนับเป็นรายจ่ายประจำวันเสียแล้ว กดเครื่องคิดเลขดูก็ได้ ถ้าหากเราสามารถ “ตัดต้นทุน” จากค่าความสุขส่วนนี้ไปได้ ก็เหมือนเรามีเงินสดติดกระเป๋าเพิ่มขึ้นอีกถึงปีละหมื่นกว่าบาทโดยยังไม่นับรวมผลตอบแทนที่เราอาจได้จากการลงทุนด้วยเงินสดก้อนที่ได้คืนมา
ยังมีอะไรอีกบ้างที่ต้องทำการตัดต้นทุน? ให้ไปไล่ดูสลิปบัตรเครดิตก็แล้วกัน อย่างอ้างเชียวนะว่าจำไม่ได้แล้วว่าเก็บสลิปไว้ที่ไหนหรือซอกมุมไหนของตัวบ้าน ถ้าสุดวิสัยจริง ๆ ก็นึกทบทวนรายจ่ายย้อนหลังไปเท่าที่จะทำได้ ส่วนใครที่ทำบัญชีรายจ่ายประจำวันอยู่แล้วก็ง่ายขึ้นเยอะเชียว เอาล่ะ!! หยิบกระดาษขึ้นมาแล้วมองดูว่าตรงไหนที่เราจะต้องลดหรือ ”กากบาท” มันทิ้งไปอีก
หนูคงทำไม่ได้ และสักวันคงจะรวยในพริบตา
บอกได้เลยว่า … เสียใจด้วย เพราะคงเป็นไปไม่ได้!! ทุกวันนี้การวางแผนการเงินคงไม่ได้ต่างอะไรไปจากโปรแกรมลดความอ้วนของหนูหรอก มันยากมากๆ กับการเริ่มต้น แล้วก็ยากขึ้นไปอีกในการที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องอาศัยความอดทนทบทวนบวกกับการมีวินัยอย่างสุดยอด
ลองวาดมโนภาพดูสิว่า ทุกต้นทางของ “แม่น้ำสายใหญ่” ที่ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อความมั่นคงและอนาคตของประเทศ ล้วนแต่มีต้นกำเนิดจากลำห้วยสายน้อย ๆ ที่ต่างก็ไหลลงมาจากพื้นที่อันห่างไกล … ผ่านขุนเขา หน้าผา อุปสรรคนานาชนิดมันต้องใช้เวลานานแค่ไหน ยิ่งถ้าคนต้นน้ำลองได้ใช้หรือบริโภคแหล่งน้ำเกินพอดี เราก็คงไม่มีสายน้ำเจ้าพระยาให้ลูกหลานได้กินได้ใช้ในวันหน้า จำไว้เสมอว่า “ต้นทางดี ย่อมมีปลายทางดีด้วย” การเก็บเงินก็เป็นเช่นเดียวกันนั้นล่ะ
- จ่ายตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก แปลว่าเก็บก่อนใช้ที่เหลือ
- เก็บเหรียญทั้งหลายลงกระปุก
- ลดเลิกบริโภคฟุ่มเฟือย
- จ่ายเงินผ่อนค่างวดต่าง ๆ (เข้าบัญชีตัวเอง) ต่อไป แม้จะผ่อนค่างวดเหล่านั้นครบหมดแล้ว
- รัดเข็มขัดชั่วคราว แม้จะทำให้อึดอัดไปบ้าง แต่ก็ไม่นานก็ชินไปเอง
- เอาเงินเดือนส่วนเพิ่มไปฝาก คิดเสียว่าเงินเดือนเรายังเท่าเดิมเสมอ ถ้าปีนี้ได้ปรับเงินเดือนขึ้นมาอีกสักพันสองพันก็ให้เก็บเอาไว้ ขนาดปีก่อนเรายังใช้พอเลย
- จ่ายหนี้ให้หมด เพราะผลตอบแทนที่ได้ก็คือ คุณจะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยจากหนี้ก้อนนั้นอีกต่อไป
- ส้มหล่น … อย่ากิน ชีวิตของเราต้องมีบ้างล่ะน่าที่จะได้เงินก้อนโตซื่งอยู่นอกเหนือแผนการเงิน ไม่ว่าจะเป็นโบนัส (เกินคาด) มรดก หรืออื่น ๆ ถ้าส้มหล่นมาอย่างนี้ให้เก็บใส่ตะกร้า (บัญชี) ไว้ก่อน อย่ารีบเอามากินเชียว เพราะเงินก้อนโตแบบนี้ … ยากมากที่จะเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สอง
เรื่องน่ารู้เพื่อการเก็บเงินได้มากขึ้น
อกเหนือจากวิธี “ตัดขาดทุน” แล้ว นักวางแผนการเงินมักจะมีแท็กติกอีกเล็ก ๆ น้อย ๆ มาแนะนำกัน ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจ “ไม่ทันคิด” เพื่อที่เราจะได้เก็บเงินให้มากขึ้นอีก ซึ่งน่าจะใช้ได้ดีทีเดียวท่ามกลางภาวะข้าวปลาอาหารแพง
- จ่ายตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก แปลว่าเก็บก่อนใช้ที่เหลือ
- เก็บเหรียญทั้งหลายลงกระปุก
- ลดเลิกบริโภคฟุ่มเฟือย
- จ่ายเงินผ่อนค่างวดต่าง ๆ (เข้าบัญชีตัวเอง) ต่อไป แม้จะผ่อนค่างวดเหล่านั้นครบหมดแล้ว
- รัดเข็มขัดชั่วคราว แม้จะทำให้อึดอัดไปบ้าง แต่ก็ไม่นานก็ชินไปเอง
- เอาเงินเดือนส่วนเพิ่มไปฝาก คิดเสียว่าเงินเดือนเรายังเท่าเดิมเสมอ ถ้าปีนี้ได้ปรับเงินเดือนขึ้นมาอีกสักพันสองพันก็ให้เก็บเอาไว้ ขนาดปีก่อนเรายังใช้พอเลย
- จ่ายหนี้ให้หมด เพราะผลตอบแทนที่ได้ก็คือ คุณจะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยจากหนี้ก้อนนั้นอีกต่อไป
- ส้มหล่น … อย่ากิน ชีวิตของเราต้องมีบ้างล่ะน่าที่จะได้เงินก้อนโตซื่งอยู่นอกเหนือแผนการเงิน ไม่ว่าจะเป็นโบนัส (เกินคาด) มรดก หรืออื่น ๆ ถ้าส้มหล่นมาอย่างนี้ให้เก็บใส่ตะกร้า (บัญชี) ไว้ก่อน อย่ารีบเอามากินเชียว เพราะเงินก้อนโตแบบนี้ … ยากมากที่จะเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สอง
เอาไปทำตามเท่านี้ก่อน จำไว้นะว่า เรื่องง่าย ๆ เหล่านี้แม้ดูเหมือนจะง่าย … แต่มันก็ยากน่าดู ไม่อย่างนั้นเราคงได้เห็นคนรวยเดินชนกันเกลื่อนประเทศไปแล้ว